หลายๆครั้ง ที่ทั้งผม หรือ ใครต่อใคร มักจะพูดกันว่า คณิตศาสตร์จะสอนให้เราคิดอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระเบียบ รู้จักการให้ตรรกะเหตุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แต่กระนั้นก็ดี
มันก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่อยู่ในแวดวงคณิตศาสตร์ หรือคนที่เรียนคณิตศาสตร์ได้ดีจะต้องเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเสมอไปหรอกนะครับ
ถ้าตราบใดที่ระบบ ระเบียบ ขั้นตอน ตลอดจนตรรกะ มันเป็นเพียงสิ่งที่เกิดขึ้นบนหน้ากระดาษเท่านั้น
สมการไม่มีความหมายใดๆ หากมันไม่สามารถอธิบายความเป็นไปต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรม (ธรรมชาติ)
,,, ,,, ,,,
สิ่งที่เหมือนกันระหว่างโจทย์คณิตและชีวิตคน
1. การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน แยกปัญหาออกมาเป็นส่วนย่อย จะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ปัญหาอย่างหนึ่ง อาจจะมีวิธีแก้โจทย์ที่หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความถนัดและความเคยชินของแต่ละคน
3. การไม่กลัวโจทย์ปัญหา กล้าที่จะเข้าไปตะลุยกับมัน จะทำให้เราแก้โจทย์ปัญหาแบบเดียวกันในครั้งต่อไปได้เร็วขึ้น
4. เราไม่สามารถหาคำตอบกับโจทย์ปัญหาที่ไม่มีคำตอบได้ เมื่อไหร่ที่รู้ว่ากำลังแก้โจทย์ทำนองนี้อยู่ ควรหยุด แล้วสรุปไปเลยว่า "ไม่มีคำตอบ"
5. แต่บางปัญหาที่ไม่เคยมีคนแก้โจทย์ได้ ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีคำตอบนะ เราอาจจะเป็น the first one ก็ได้ ใครจะไปรู้
,,, ,,, ,,,
สิ่งที่ต่างกันระหว่างโจทย์คณิตและชีวิตคน
1. โจทย์คณิตทำตามทฤษฎีบทที่ได้รับการพิสูจน์แล้วมักจะได้คำตอบ แต่ชีวิตคนทำตามทฤษฎีบางทีก็ใช่ว่าจะแก้โจทย์ปัญหาได้ ในทางตรงกันข้าม ทำแหกทฤษฎีบท หลุดกรอบ อาจจะเจอคำตอบเจ๋งๆได้ เขาถึงได้มีคำว่า "มหัศจรรย์" ไงล่ะ (แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆ เขาก็คงไม่เรียกมหัศจรรย์สินะ)
2. โจทย์คณิตเมื่อเราลองพบว่าเราได้คำตอบที่ผิด เราจะทำซ้ำกี่ครั้งก็ได้ จนกว่าจะถูก, จนกว่าจะรู้ว่ามันไม่มีคำตอบ หรือจนกว่าเราจะเหนื่อย, แต่กับชีวิตคนเรา ทุกปัญหาเรามักจะมีโอกาสแค่ครั้งเดียว
,,, ,,, ,,,
อย่าเชื่อผม ผมไม่ใช่อริสโตเติล และยังไม่มีวุฒิภาวะหรือประสบการณ์มา
ทบทวนไตร่ตรองด้วยตัวเอง ,,,
เขียนโดย Eddy
ทบทวนไตร่ตรองด้วยตัวเอง ,,,
เขียนโดย Eddy
สวย มร๊วกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก
ตอบลบอิอิ น่ารักอ่ะ (><)